ขายฝากกับจำนองต่างกันอย่างไร

การจำนอง คือ การเอาอสังหาริมทรัพย์จดทะเบียนจำนองเป็นการประกันการชำระหนี้ให้แก่เจ้า หนี้ผู้รับจำนอง โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับจำนอง

การขายฝาก คือ การซื้อขายทรัพย์สินกันโดยมีข้อตกลงว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์คืนได้ภายในกำหนด เวลาที่แน่นอนตามสัญญา แต่ต้องไม่เกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด คือ อสังหาริมทรัพย์ มีกำหนด 10 ปี และสังหาริมทรัพย์มีกำหนด 3 ปี

การจำนอง ทรัพย์สินที่จะนำมาเป็นหลักทรัพย์ตามสัญญานั้นจำกัดไว้แต่เฉพาะอสังหาริม ทรัพย์ คือ ที่ดิน และสังหาริมทรัพย์พิเศษ คือ เรือกำปั่น แพ สัตว์พาหนะที่มีตั๋วรูปพรรณ และเครื่องจักรที่จดทะเบียนแล้วเท่านั้น ในส่วนของสัญญาขายฝากไม่จำกัดว่าจะเป็นทรัพย์สินชนิดใด

ในการจำนองนั้นสัญญาจำนองเป็นสัญญารอง จำเป็นต้องมีสัญญากู้ยืมเป็นสัญญาหลักเสียก่อน ความสมบูรณ์ของสัญญาจำนองจึงต้องขึ้นอยู่กับสัญญากู้ซึ่งเป็นสัญญาหลักด้วย แต่สำหรับสัญญาขายฝากนั้นเป็นสัญญาหลัก มีความสมบูรณ์ในตัวของสัญญาเอง ซึ่งในการทำสัญญาทั้งสองประเภทนี้ต้องมีการจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ด้วย

เมื่อทำสัญญาจำนองและได้จดทะเบียนแล้ว กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำนองยังคงเป็นของเจ้าของทรัพย์ที่จำนอง สิทธิต่าง ๆ ยังคงอยู่เหมือนเดิม แต่ผู้รับจำนองมีสิทธิที่จะขอให้เจ้าของทรัพย์สินที่จำนองนั้นปลดเปลื้อง สิทธิต่าง ๆ ที่ให้แก่บุคคลอื่น เช่น สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกิน สิทธิเหนือพื้นดิน และภาระติดพันใด ๆ ได้เพื่อมิให้เสื่อมประโยชน์กับเจ้าหนี้ผู้รับจำนองถ้าสิทธินั้นเกิดขึ้นภาย หลังจากที่ได้มีการทำสัญญาจำนองกันแล้ว ในทางกลับกัน สัญญาขายฝากผู้ขายฝากต้องโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากให้แก่ผู้ซื้อ ฝาก ผู้ซื้อฝากจึงเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์อย่างสมบูรณ์เหนือทรัพย์ที่ขายฝาก และมีสิทธิที่จะนำทรัพย์สินนั้นไปก่อสิทธิใด ๆ เหนือทรัพย์สินนั้น ๆ ได้ แต่มิใช่กรณีของการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บุคคลอื่น เพราะว่าตามสัญญาขายฝากต้องให้ระยะเวลาผู้ขายฝากมาไถ่คืนภายในกำหนดเวลาเป็น สำคัญ

ถ้าหลังจากกำหนดเวลาตามสัญญาแล้วผู้ขายฝากไม่สามารถมาไถ่ถอนคืน ผู้ซื้อฝากจึงสามารถจะนำไปขายต่อได้ หากผู้ซื้อฝากนำทรัพย์ที่ซื้อฝากไปทำการขายหรือโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ให้แก่ บุคคลภายนอกในระหว่างที่ผู้ซื้อฝากอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ ก็ถือว่าบุคคลภายนอกได้ทรัพย์ไปโดยชอบ เพราะสัญญาขายฝากจะบังคับได้แต่คู่สัญญาเท่านั้น แต่ผู้ซื้อฝากต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ขายฝากที่ไม่สามารถไถ่ทรัพย์คืน ได้ตามข้อสัญญา


มีปัญหาอยู่ว่า หากผู้ขายฝากมีความประสงค์จะไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากคืนภายในกำหนดระยะเวลา แต่ผู้ซื้อฝากแกล้งบ่ายเบี่ยงเพื่อให้เกินกำหนดระยะเวลา เพราะหวังจะได้ทรัพย์สินนั้นไว้ ผู้ขายฝากจะแก้ไขปัญหาอย่างไร

ในทางกฎหมายได้เปิดช่องของวิธีการแก้ไขไว้โดยให้ผู้ขายฝากที่ต้องการไถ่ถอน ทรัพย์นั้น นำเอาเงินค่าไถ่ถอนไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ และสละสิทธิที่จะถอนเงินที่วางไว้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากก็จะกลับเป็นของผู้ขายฝากที่ได้วางเงินไถ่ ถอนแล้วทันที


ในการไถ่ถอนหรือการซื้อคืนทรัพย์ที่ขายฝากนั้น ไม่สามารถขอผ่อนชำระราคาจนเกินกำหนดเวลาในสัญญาได้ หรือจะขอขยายระยะเวลาการไถ่ถอนในสัญญาออกไปในภายหลังก็ไม่ได้อีกเช่นกัน และถ้าหากกำหนดระยะเวลาการไถ่ถอนในสัญญาเกินกว่า 10 ปีในกรณีที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ และ 3 ปีที่เป็นสังหาริมทรัพย์ กฎหมายก็กำหนดให้ลดลงมาเป็น 10 ปี และ 3 ปี ตามประเภททรัพย์ ถ้าผู้ขายฝากแสดงเจตนาที่จะไถ่คืนทรัพย์ที่ขายฝากในเวลาใด ๆ ภายในกำหนดเวลาตามสัญญาผู้ซื้อฝากต้องยินยอมให้ผู้ขายฝากไถ่ถอนทรัพย์สิน นั้นโดยมิอาจอิดเอื้อน บ่ายเบี่ยง หรือประวิงเวลาได้

การกำหนดราคาในการไถ่ถอนจำนองนั้น ก็ขึ้นอยู่กับสัญญาหลักว่ายังคงมีหนี้สินเหลืออยู่อีกเท่าไร เจ้าหนี้ผู้รับจำนองคงยังไม่ยอมปล่อยทรัพย์สินที่จำนองจนกว่าจะได้รับชำระ หนี้ครบถ้วน แต่ในสัญญาขายฝากต้องมีการกำหนดราคาการไถ่ถอนไว้ให้ชัดเจน หากไม่ได้กำหนดราคาไว้ก็ให้ไถ่ถอนในราคาที่ซื้อขายกัน

ความสูญเสีย เสียหาย หรือชำรุดบกพร่อง ของตัวทรัพย์ที่นำมาจำนองหรือขายฝากจะส่งผลต่างกันไป ในกรณีของการจำนอง หากทรัพย์ที่จำนองสูญเสีย เสียหาย หรือชำรุดบกพร่อง เจ้าหนี้ผู้รับจำนองอาจใช้สิทธิบังคับจำนองได้ก่อนถึงเวลาที่ลูกหนี้ผิดนัด แต่ถ้าเป็นกรณีของการขายฝาก ทรัพย์ที่ขายฝากอยู่ในสภาพเช่นใดในเวลาที่ไถ่ถอน ก็ให้ส่งคืนตามสภาพนั้น ๆ โดยผู้ที่ไถ่ถอนไม่สามารถเรียกร้องอย่างใด ๆ ได้เลย เว้นแต่ในกรณีที่ทรัพย์นั้นถูกทำลาย หรือทำให้เสื่อมเสียโดยความผิดของผู้ซื้อฝาก ไม่ว่าจะเป็นการเจตนาหรือความประมาทก็ตาม ผู้ซื้อฝากจะต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายดังกล่าวแก่ผู้ไถ่ถอน


การจำนองเป็นการบังคับเอากับทรัพย์สินที่จำนอง ไม่ใช่การบังคับเอากับผู้จำนอง ในการบังคับจำนองโดยปกติจะบอกกล่าวเพื่อบังคับจำนองเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระ หนี้แล้ว ก็ยังสามารถบังคับจำนองได้ก่อนเวลาที่ลูกหนี้ผิดนัดได้เมื่อปรากฏกรณีว่า ทรัพย์ที่จำนองบุบสลาย หรือสูญหายไปจนไม่เพียงพอกับการชำระหนี้


การประกันการชำระหนี้ด้วยวิธีจำนองหรือขายฝากทรัพย์สินเป็นการตกลงกัน ระหว่างบุคคลทั้งสองฝ่าย ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความพอใจ และความสามารถในการชำระหนี้คืนของลูกหนี้ ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรพิจารณาให้ดีถึงผลของกฎหมายในกรณีที่ไม่สามารถชำระหนี้ คืนประกอบการตัดสินใจด้วย

ในส่วนของเจ้าหนี้ คือ ผู้รับจำนองหรือผู้ซื้อฝากนั้น ก็ต้องมีความละเอียดรอบคอบและพิจารณาให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจรับจำนองหรือ ซื้อฝากทรัพย์ ต้องคำนึงถึงผลในทางกฎหมายและความแตกต่างของการทำสัญญาทั้งสองประเภท รวมถึงความเหมาะสมกับตัวทรัพย์นั้นด้วย